Home » Car Features » ACROPHOBIA อยากให้ทุกคนมีความสุขไปกับเรา

ACROPHOBIA อยากให้ทุกคนมีความสุขไปกับเรา

posted in: Car Features | 0

ACROPHOBIA มาจากคำว่าโรคกลัวความสูงเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ชื่นชอบการแต่งแนว stance/fitment ในจังหวัดอุบลราชธานี ในตอนแรกจะมีการนำรถในยุคปัจจุบัน มาทำการจัด fitment และเน้นความเตี้ย เป็นสำคัญ ในระยะแรกๆ มีประมาน 5-6 คัน รวมตัวกัน มีการพบปะ พูดคุยกัน ทำความรู้จักกัน และได้เรียนรู้วิถีชีวิต ของกันและกัน พบว่า คนในกลุ่ม นอกจากเรื่องรถแล้ว ยังมีวิถีชีวิตที่คล้ายกัน จึงมีการพูดคุยกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า “ACROPHOBIA” โดยเจตนารมณ์ของกลุ่มก็คือการตกแต่งรถ ในแนว stance/fitment และเน้นความเตี้ยเป็นสำคัญ

อย่างที่ได้บอกไปว่า กลุ่มเราที่เน้น stance/fitment และความเตี้ยนั้น มันทำให้รถครอบครัวที่มีอยู่คันเดียวไปไหนมาไหนลำบากขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญทำให้กลุ่มเริ่มมองหารถอีกคันเพื่อใช้งานและเน้นหล่อ ประกอบกับในช่วงนั้น มีหนัง Fast Five ที่ได้นำรถเข้าฉาก คือ Nissan Skyline C10 ซึ่งขับโดย Paul Walker  ครั้งแรกที่เห็นเกิดความชอบรถ retro ผมและเพื่อนจึงได้เริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรถ retro ซึ่งในช่วงแรกก็หมกมุ่นอยู่กับ C10 แต่ด้วยราคาค่าตัว ค่าอะไหล่ที่สูงเกินไป จึงเริ่มมองรถ Datsun Bluebird อีกรุ่น ที่มีลักษณะคล้าย C10 ราคาค่อนข้างจับต้องได้และที่สำคัญคือช่วงล่างหลังเป็นอิสระ (มีทั้งแหนบและเพลาลอย) ซึ่งก็ คือ Bluebird 510 ซึ่งเป็นรถที่มีตำนาน มายาวนาน แต่บ้านเราไม่ค่อยมีคนเล่นมากนัก จึงตัดสินใจหารถรุ่นนี้ จนวันหนึ่ง ได้พบ 510 ตัวเป็นๆที่จอดขายอยู่เต็นท์รถยนต์มือสองแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี เราก็เลยเข้าไปดู และลองขับดู ก็เกิดรู้สึกชื่นชอบมากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อคันนี้เพราะเป็นช่วงล่างแบบแหนบ คิดว่า คงจะทำการแบะล้อหลังลำบาก

The word “acrophobia” may be a bit different than what you know. From the perspectives of these Datsun 510 enthusiasts from the north of Thailand, Acrophobia is a club title with a straight-up meaning of being afraid of riding high.

DSC_0020-2 copy

หลังจากนั้นก็เริ่มออกตามหา ทั้งในอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียง ค่อนข้างหากยากมากๆ และถึงแม้ว่าจะหาเจอแต่เจ้าของเขาก็ไม่ขาย จนวันหนึ่งเจอในเว็บ ราคาพอรับได้ และมีช่วงล่างแบบเพลาลอย ซึ่งอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งระยะทางห่างจากอุบลราชธานี ประมาน 300 กิโลเมตร จึงตัดสินใจขับรถไปดู โดยออกจากบ้าน 15.30 น. ไปถึงประมาน 18.00 น. ก็ได้ดูรถ พูดคุยกับเจ้าของ ก็เลยตัดสินใจออกตังค์กันซื้อกับเพื่อนสองคน ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ได้ตกลงกันว่าใครจะเป็นคนเอา แต่นาทีนั้นขอเอารถกลับบ้านก่อน และได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนคร เวลา 20.30 น. ด้วยสภาพรถที่ช่วงล่างค่อนข้างแย่ เครื่องยนต์ที่เราไม่เคยรู้จัก บรรยากาศที่เราไม่คุ้นเคย ขับรถกลับบ้าน ถึงบ้าน 04.00 น. รถคันนี้ก็ได้เริ่มลองผิดลองถูก ทำโน่นทำนี่ จนรู้สึกว่าโอเค ชอบ ประกอบกับเพื่อนที่บอกว่า คันนี้ให้ผมก่อน ส่วนเพื่อนจะไปเอาอีกคัน หลังจากนั้นก็ได้ทำการเปลี่ยนช่วงล่างที่ค่อนข้างสาหัส เปลี่ยนล้อ ยาง โหลดเตี้ย แบะล้อ และทำการแก้ไขอาการอื่นๆที่เป็นปัญหา ซึ่งคันนี้ก็คือ คันสีทอง ป้าย กก 510 อุบลราชธานี (เจ้าของรถชื่ออ๊อค)

DSC_0114-2 copy  

คันที่ 2 เป็นรถคันแรกที่เจอ (ปัจจุบัน คือคันสีมิ้นท์ ป้ายทะเบียน กฉ510 อุบลราชธานี)ไปดู 8 ครั้ง ลอง 2 ครั้ง จนพบเนื้อคู่ที่แท้จริง คือพี่ยุ้ย ถึงแม้จะจอดขายอยู่ที่เต็นท์รถมือสอง แต่กว่าจะได้มาเป็นเจ้าของก็ไม่ได้มาง่ายนัก เพราะตอนฝ่าฟันปัญหา อุปสรรคมากมาย จนสุดท้าย ได้มาเป็นเจ้าของ สิ่งแรกที่ทำคือ โหลด จัด ล้อ ยาง เพราะรถคันนี้สภาพที่ได้มาค่อนข้างสมบูรณ์ ชนิดที่ไม่ต้องทำอะไรมาก แต่งอย่างเดียว บวกกับสไตล์ของเจ้าของรถที่บอกว่า “มีรถไม่เตี้ย จะมีไว้ทำไม”

DSC_0253-3 copy DSC_0305-4 copy  

DSC_0527-3 copy  

DSC_0675-3 copy

คันที่ 3 เป็นรถของน้องเล็กสุดในกลุ่ม สีขาว ฝาสนิม (เจ้าของรถชื่อท็อป) ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ DATSUN 510 ก็มีการดูรุ่นอื่นๆ มาเยอะมากๆๆ จนเหลือสองตัวเลือกสุดท้าย คือ Honda civic EF กับ DATSUN 510 ในขณะที่หารถอยู่นั้น เป็นจังหวะ ที่เจอ 510 สภาพดี พร้อมใช้ จึงตัดสินใจไปดู แล้วขับกลับจากนครปฐม หลังจากที่ได้มา ก็ตามสเต็ป ล้อ ยาง ช่วงล่าง โหลด ฟิตเม้นท์ และจัดของแต่งอื่นๆ ตามแนวทางของตัวเอง

DSC_0774-4 copy

คันที่ 4 (คันสีขาว ป้ายทะเบียน กบ 510 อุบลราชธานี) ในตอนแรกว่าจะทำแนว rat-look ขับ จึงเอาไปทำการลอกสี พอทำไปได้ซักระยะ ไปดูพอลอกแล้วปรากฏว่าดูไม่ได้ จึงตัดสินใจทำสีใหม่ทั้งคัน เก็บอะไหล่ และเริ่มทำรถคันนี้ตั้งแต่ตอนนั้น คันนี้เจ้าของรถเรียกได้ว่าจัดหนัก ชิ้นส่วนของรถต้องมีการทำความสะอาดใหม่ให้สวยงามและไหล่บางอย่างก็มีการจัดหาใหม่มาใส่ ให้ตรง Concept“เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้”พอสิ้นสุดการทำสีที่ใช้เวลาอย่างยาวนาน ก็ทำการจัดล้อ ยาง โหลด fitment และอื่นๆที่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน พอทำคันนี้เสร็จก็ได้ขายคันแรก (สีน้ำเงิน ป้ายทะเบียน กก )

DSC_0968-3 copy DSC_0983-4 copy DSC_1001-2 copy DSC_1033-3 copy  

คันที่ 5 เป็นรถของพี่ใหญ่ในกลุ่มและเป็นช่างภาพประจำกลุ่ม (รถคันสีแดง ป้ายทะเบียน กพ4808 อุบลราชธานี เจ้าของรถชื่อต๊ะ) หลังจากที่ทำการขายรถคันสีน้ำเงิน นายสิงโตและผม (อ๊อค) ก็ได้ไปหารถมาอีกคัน เพื่อที่จะเอามาทำ ซึ่งคันนี้ก็ได้มาจากจังหวัดพิษณุโลก ระยะทาง หกร้อยกว่า กิโลเมตร หลังจากดูรถ ตกลงซื้อ ขาย กันจบ ก็จะลากกลับ พอลากมาได้ประมาน 50 กิโลเมตร เกิดเหล็กลากขาด จึงทำการปั๊ม ซ่อม แก้ไขรถ เพื่อจะขับกลับ เสร็จ ขับมาได้ประมาน 30 กิโลเมตร คิดว่าคงไม่ไหว เพราะต้องข้ามภูเขา ซึ่งเป็นระยะทางกว่าร่อยกิโลเมตร เพื่อความปลอดภัย จึงจ้างรถยก ยกกลับ มาจอดไว้ที่บ้าน เวลาผ่านไป พอเจ้าของรถคนปัจจุบันเกิดอยากจะได้รถคันใหม่ จึงได้ให้มาดูและได้ลองขับ เกิดรู้สึกชอบ ประกอบกับ ในกลุ่มทุกคนเปลี่ยนรถมาเป็นรุ่นนี้หมด จึงเหมือนไม่มีทางเลือก ตกหลุมพราง 510 เข้ามา อย่างหนีไม่ออก หลังจากที่ได้รถไป ก็จัดการ ล้อ ยาง ฟิตเม้นท์ โหลด แบะ ตามสเต็ป และจัดของแต่งตาม Life Style ของตัวเอง

DSC_1125-3 copy DSC_1168-4 copy DSC_1177-3 copy DSC_1217-2 copyDSC_0765-2 copyสิ่งนึงที่ความเป็น retro มีและทำให้ใครหลายๆคนหลงรัก คือ “รถเลือกคน ไม่ใช่คนเลือกรถ” เพราะถึงแม้ว่าเราจะชอบมากเพียงใด อยากได้มากเพียงใด แต่ถ้ามันไม่ใช่ ยังไงก็เป็นของคนอื่นอยู่ดี ทุกคนที่เป็นเจ้าของรถ จึงให้ความดูแล เอาใจใส่ รถของตัวเองเป็นอย่างดี จนรถแต่ละคันมีลักษณะและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน

“An owner doesn’t get to choose his car, a car chooses its owner.”

 

Story by : Atthawit Acrophobia

Photographer : Anurak Vipusitsomboon